การจัดการความรู้
ข้อมูลพื้นฐานการประเมินจัดการความรู้
การค้นหาความรู้
หนังสือของสำนักวิจัยและพัฒนา
บทคัดย่อผลงานวิจัย
กิจกรรมการจัดการความรู้
สรุปบทเรียนสำนักวิจัยและพัฒนา
องค์ความรู้จากการอบรมสัมมนา
รายงานผลการจัดการความรู้
คลังความรู้, -
นวัตกรรมสำนักวิจัยและพัฒนา
-
ฝายหยัก
|
RADAGATE
|
เรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก
|
![]() เครื่องวัดความชื้นในดิน
|
PRIN PUMP
|
PRIN PUMP
|
![]() ถังบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน
|
SAPRIN WEEDER
|
SAPRIN WEEDER
|
ทิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย Administrator |
วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2012 เวลา 20:27 น. |
บันทึกทิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(วัชระ เสือดี) ประเด็นสำคัญที่ได้จากการสัมมนา
เรื่อง
ทิศทางการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
จัดโดย
คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สภาผู้แทนราษฎรห้องประชุมคณะกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา 2 กล่าวนำ
3เทคโนโลยีใหญ่ ของโลก
ประกอบด้วย 1 คอมพิวเตอร์ 2 นาโน 3 ไบโอเทคโนโลยี ในไทยมุ่งเน้น 5 เทคโนโลยี คือ 1 ไบโอ 2 โอโโซน 3 นาโน 4 นิวเคลียร์ 5 Advanced tech
คณะกรรมาธิการเห็นความสำคัญจึงจัดสัมมนาเพื่อกำหนดทิศทางเพื่อยกระดับ
กำหนดการตามเอกสารที่แนบ
09.10 น สรุปพิธีเปิดโดยนายเจริญ จรรย์โกมลรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
หวังว่าการสัมมนาในวันนี้จะได้ความเห็นจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนฯ
09.15-09.30 น สรุปปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศในอนาคต โดย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - สังคมไทยส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อด้านไสยศาสตร์ต้องเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเหตุเป็นผล (mind set)
- ต้องยอมรับการนำพาประเทศต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนฯในการ
1 กำหนดทิศทางของประเทศ
2 นำมาใช้ขับเคลื่อนประเทศให้ก้าว
3 push ให้ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
4.นำมา shape ประเทศไทย ให้เหมาะสม
- วิทยาศาสตร์ในประเทศไทยยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา การปรับตำแหน่งทางวิชาการ ยังไม่ใช่การวิจัยที่นำไปสู่เม็ดเงิน
งบประมาณกระทรวงวิทยาศาสตร์น้อยมาก - คนจบ ดร. ประมาณ 3หมื่น 2หมื่นอยู่ในมหาวิทยาลัย ต้องจัดโครงการ talent mobility ทุกสายงาน เพื่อส่งเสริมบุคลากรและงานวิจัย
งานวิจัยต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ถ้าเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ต้องลงทุนเอง - ทุนวิจัยของประเทศมีน้อยควรให้การสนับสนุนเงินทุนเพิ่มเติม
- สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น central lab /นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ที่ มช มข เป็นต้น เพื่อเป็นหน่วยงานกลางให้คนใช้สร้างผลงานนวัตกรรมใหม่ร่วมกัน
สรุปว่าต้องมีวิธีคิดแนววิทยาศาสตร์เป็นฐานก่อนจึงจะผลักดันประเทศสู่ทิศทางที่ต้องการได้
การบรรยายเรื่อง
อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย จุดอ่อนที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศาสตราจารย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จากการ ranking ประเทศไทยได้ลำดับ 27 จาก 59 ประเทศ โดยมีการพิจารณา ใน 5 หัวข้อ
1 เศรษฐกิจ
2 ประสิทธิผลภาครัฐ
3 ภาคเอกชน
4 โครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม
วันนี้จะมองข้อ 4 ที่ได้ลำดับ 47 จาก 59 คะแนนต่ำสุด
องค์ประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การศึกษา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีปัญหาตกอันดับเรื่อยๆ เพราะประเทศอื่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยคะแนนต่ำเป็นลำดับที่ 52 เพราะขาดเงินสนับสนุนงานวิจัย เราเขียนแผนเมื่อ 10 ปีที่แล้วแต่ในทางปฎิบัติกลับลดลง คือ 1.1 หมื่นล้านเช่นเดิม.ปัญหาบุคลากร อันดับ 46 เพราะเรามีนักวิจัยน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในสถาบันการศึกษาเรื่องสิทธิบัตร (อันดับ 48) เรื่องการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ สัดส่วนบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ กฎหมายที่เอื้อให้งานวิจัยนำไปสู่การตลาดได้ แรงงานที่มีทักษะด้าน it. จำนวนงานวิจัยที่สร้างนวัตกรรมใหม่ สรุป แม้ว่าการจัดอันดับที่ 27 ก็ตาม แต่คะแนนที่ต่ำอยู่ที่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ต้องกำหนดทิศทางและให้การสนับสนุน 10.15 น -12.15 น การอภิปรายเรื่อง
กาวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในมุมมองนักธุรกิจ ผู้ใช้ประโยชน์ (มองย้อนกลับจากที่เคยมอง) ผู้อภิปราย
1 นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บ ปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) scg เน้นพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโน เพื่อเลื่อนอันดับ ต้องเร่งงาน R&D นักวิจัยและผู้ช่วย 6 คนต่อ 10,000 คน โดยเป้าหมายคือ 15 ต่อ 10,000 คน คนทำงานงานวิจัยเชิงธุรกิจแค่ 20 เปอร์เซนต์ควรให้กระทรวงวิทยาศาสตร์อยู่ในกลุ่มกระทรวงเศรษฐกิจกำไรของบริษัทครึ่งหนึ่งส่งให้รัฐ รัฐต้องสนับสนุนงานวิจัย นักวิจัยให้ไปอยู่ในภาคเอกชนบ้าง จากนั้นนำเสนองานวิจัยของ scg คนต่างชาติที่ลงทุนลงด้าน R&D น้อย เราต้องทำเอง speed up งานวิจัย/ modify นวัตกรรมใหม่/เพื่ิมทุน/ต้องร่วมภาครัฐและเอกชน 2 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท จำกัด มหาชน
ประเทศชั้นนำส่วนใหญ่ไม่มีทรัพยากร ประเทศเกาหลีเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ ปี 1982 เกาหลีมี gdp เท่าไทยและเริ่มแซงหน้าโดยการเน้นการศึกษาและนวัตกรรม ม เกาหลีอยู่อันดับ 26 ของโลกแซงญี่ปุ่นบริษัทยักษ์ใหญ่ให้การสนับสนุน เช่น บ ถลุงเหล็กตั้งมหาวิทยาลัย หรือ sumsungให้การสนับสนุนมหาวิทยาลัย เกาหลีมีกระทรวง knowledge economy เป็นประเทศแรก อินโดทำเป็นที่ 2 ประเทศไทยน่าจะมีมหาวิทยาลัยที่ระยอง ปตท มีงบวิจัย 2 พันล้าน รัฐมีเป้าหมายให้นำกำไรร้อยละ 3 ของกำไรมาเป็นงบวิจัย.ซึ่งจะมีเงินวิจัยประมาณ 6000 ล้านบาทประเทศเกาหลีคอมเม้นท์ว่าเราไม่มีนโยบายและการดำเนินงานทต่อเนื่อง
3 นายเชิญพรเต็งคำนวณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ต้องหาโจทย์ของเราให้ได้ชัดเจนทำแล้วสู้ได้หรือไม่ ตรงตามความต้องการหรือไม่ scg และ ปตท เป็นตัวอย่างที่ดีในการที่ภาคเอกชนร่วมเป็นผู้นำด้านการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยงานวิจัยต้องต่อท้ายด้วย commercialization เพราะเทคโนโลยี ทำให้ประเทศไทยเข้มแข็ง สภาอุตสาหกรรมพยายามนำผลงานวิจัยมาต่อยอด (อาจไม่ทั้งหมด) ประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยีของตนเองคอขวดของผลิตภัณฑ์คือการยอมรับ การรับรองมาตรฐานและการตลาด.ระบบการวิจัยยังไม่สู่จุดหมาย คือถึงผู้ใช้หรือไม่
4 ศาสตราจารย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ความซ้ำซ้อนของผู้บริหารทุนวิจัยขณะนี้ได้มีการบูรณาการแล้วเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การขอทุนและได้มีเว็บรวมผลงานวิจัยแล้ว (เว็บ tnrr ฐานข้อมูลรวมงานวิจัย)
ช่วงบ่าย
13.00-14.30 น. การอภิปรายเรื่องทิศทางการพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐานด้ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ผู้อภิปราย
1 รศ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษาสภาพปัญหาการขาดคนด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันการจัดการนานาชาติ
สรุปว่าเรายังอ่อนแอด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนฯ ทั้งการลงทุน infrastructure บุคลากร ผลผลิตตัวเลขจากอาเซียน เรามีนักวิจัยด้านนี้ 3.3คน ต่อ 1 หมื่นคน ลงทุนด้านการวิจัยแค่ร้อยละ 0.2 ของ GDP ปัญหาหนึ่ง คือการแบ่งสายการเรียนเป็นสายวิทย์กับศิลป์. การจบแล้วเรียนหรือทำงานไม่ตรงสายงาน นโยบายรัฐบาลไม่ต่อเนื่อง รัฐบาลนี้มีนโยบายข้อ 6.2 คือสร้างนักวิจัยด้านวิทย์. แผนฯ 11 ให้ความสำคัญ มีการวางแผนให้มีนักวิจัย 15 ต่อ 1 หมื่น ยุทธศาสตร์วิจัยของชาติก็เน้นด้านนี้.แผนอุดมศึกษายุทธศาสตร์ข้อ 3 ให้ความสำคัญด้านวิทย์ มีการสนับสนุนความร่วมมือโดย สกอ.ให้เกิด ม วิจัย (เลือกบางสถาบันฯ) 2 นายกิติพงค์ พร้อมวงศ์ ผอ ฝ่ายอาวุโสฝ่ายวิจัยและจัดการนโยบาย สนง คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.)
แสดงความเหนือกว่าด้านเทคโนฯของประเทศเกาหลีเทียบกับไทย นักวิจัย 50 คน ต่อ 1 หมื่น แต่ไทยก็เข้าสู่ middle upper income น่าลงทุนและพร้อม take off มีหลายบริษัทอยากนำศูนย์วิจัยมาลงในไทยแต่เรายังขาดนักวิจัย (ที่ต้องการ 3600 คนต่อปี). และต้องมองภาพการพัฒนาคนให้ครบวงจรให้สอดรับกับความต้องการในระยะยาวและต้องส่งเสริมเรื่องภาษาอังกฤษเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีหน่วยเอกชนหลายแห่งสร้างบุคลากรเองแล้วคือปตท โตโยต้าฯลฯ ขอให้รัฐส่งเสริมแบบครบวงจรเพราะต่างชาติให้ทุนเรียนและได้คนของเราไปทำงาน ดังนั้นต้องมีแผนรองรับบุคลากรเหล่านี้ รัฐต้องลงทุนด้านพื้นฐานเพื่อพัฒนาด้านวิทย์ฯเช่นศูนย์วิจัย/สถาบันวิจัย ขาดการดูแลงานวิจัยด้านเกษตร
3 นางดวงสมร คล่องสารา รอง ผอสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนฯ (สสวท)
เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม โครงการประเมิน พิซซ่า ตรวจสอบความรู้นักเรียนด้านการอ่าน คณิต วิทย์ 3 ปีครั้ง เริ่ม 2002 ล่าสุด ปี 2009 เน้นการอ่าน เด็กไทยอายุน้อยกว่า 15 ปีมีปัญหาด้านการอ่าน เราต้องตระหนัก และคาดว่าปี 2012 จะทดสอบอีกเน้นคณิตย์ เราต้องเตรียมตัว มีโครงการยกระดับความรู้คือกลุ่มเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มโรงเรียนสาธิต การปรับกระบานการเรียนการสอนแต่ต้องเชื่อมโยงกับข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยและเตรียมการรองรับเข้าทำงาน สสวทจะขยายฐานการพัฒนาบุคลากรทั้งครูและนักเรียนตามโครงการต่างๆ
14.30-16.00 น การอภิปรายเรื่อง
จุดอ่อนจุดแข็งของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ผู้อภิปราย
1 นายศุภชัย หล่อโลหการ
ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 2 นางชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผอ
สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 3 ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน
รอง ผอ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 28 กรกฏาคม 2012 เวลา 22:00 น. |