การจัดการความรู้
ข้อมูลพื้นฐานการประเมินจัดการความรู้
การค้นหาความรู้
หนังสือของสำนักวิจัยและพัฒนา
บทคัดย่อผลงานวิจัย
กิจกรรมการจัดการความรู้
สรุปบทเรียนสำนักวิจัยและพัฒนา
องค์ความรู้จากการอบรมสัมมนา
รายงานผลการจัดการความรู้
คลังความรู้, -
นวัตกรรมสำนักวิจัยและพัฒนา
-
ฝายหยัก
|
RADAGATE
|
เรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก
|
![]() เครื่องวัดความชื้นในดิน
|
PRIN PUMP
|
PRIN PUMP
|
![]() ถังบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน
|
SAPRIN WEEDER
|
SAPRIN WEEDER
|
โครงการจัดทำเรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ปริญญา กมลสินธุ์ |
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2012 เวลา 00:00 น. |
โครงการจัดทำเรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก
ปริญญา กมลสินธุ์
1 และ กัญญา อินทร์เกลี้ยง 2
1
ปัจจุบันตำแหน่ง วิศวกรโยธา ชำนาญการพิเศษ สังกัด สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
ปัจจุบันตำแหน่ง วิศวกรโยธา ชำนาญการพิเศษ สังกัด กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
e-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
บทคัดย่อ :
สำนักวิจัยและพัฒนา ได้ศึกษาออกแบบจัดทำเรือเก็บผักตบชวาที่เกิดขึ้นในแหล่งน้ำและทางน้ำชลประทาน สร้างปัญหาอุปสรรคต่อการบริหารจัดการน้ำเป็นอย่างมาก เรือเก็บผักตบชวาต้นแบบ เป็นเรือขนาดเล็กแบบสองโป๊ะ(Catamaran) โป๊ะทำด้วยไฟเบอร์กลาส ขนาดเรือกว้าง 1.7 ม. ยาว 5.5 ม. เรือขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซินขนาด 13 แรงม้าผ่านหางเสือ ที่ติดตั้งด้านท้ายเรือ บนเรือติดตั้งเครื่องเก็บผักตบชวา ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซิน 13 แรงม้า แยกทำงานอิสระจากเครื่องยนต์ขับเรือ เครื่องเก็บผักตบชวาทำงานได้ 2 ลักษณะ คือ การดันวัชพืชเข้าหาฝั่งแล้วช้อนตักวัชพืชยกขึ้นเทลงบนฝั่ง หรือ เทลงในภาชนะเพื่อขนย้ายไปทิ้งตามจุดที่กำหนด และ การตักวัชพืชยกลอยขึ้นเหนือน้ำ ขับเรือแล่นไปเทบนฝั่ง หรือตามจุดเป้าหมายที่ต้องการนำวัชพืชไปกำจัด การทำงานของเรือใช้คนปฏิบัติงานบนเรือ 2 คน ประกอบด้วยคนขับเรือ 1 คน และคนบังคับเครื่องตักเก็บผักตบชวาอีก 1 คน เรือเก็บผักตบชวาต้นแบบ มีน้ำหนักประมาณ 470 กก. รับน้ำหนักบรรทุกประมาณ 450 กก. ความเร็วเรือสูงสุดในการปฏิบัติงานประมาณ 5 กม./ชั่วโมงความสามารถในการเก็บผักตบชวาประมาณ 3-5 ตัน/ชั่วโมง ขึ้นกับความหนาแน่นของวัชพืชที่เกิดขึ้น และระยะทางในการขนย้ายผักตบชวา สู่จุดเป้าในการขนย้ายและทำลาย อัตราการใช้น้ำมันของเครื่องยนต์ รวมทั้งเครื่องยนต์ขับเรือและเครื่องยนต์ขับเครื่องตัดเก็บวัชพืช ประมาณ 2-3 ลิตร/ชั่วโมง เรือเก็บผักตบชวาต้นแบบสามารถทำงานได้ในสภาวะความหนาแน่นของผักตบชวาน้อยถึงปานกลาง รวมถึงวัชพืชลอยน้ำอื่น ขนย้ายสะดวก เป็นชุดปฏิบัติงานเคลื่อนที่เร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้ในคลองขนาดเล็ก ทั้งคลองดาดคอนกรีตและคลองดิน เรือที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ ทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น รูปร่างและการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถแยกชิ้นส่วนประกอบได้ มุ่งหวังจะให้ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง และมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2012 เวลา 14:44 น. |