การจัดการความรู้
ข้อมูลพื้นฐานการประเมินจัดการความรู้
การค้นหาความรู้
หนังสือของสำนักวิจัยและพัฒนา
บทคัดย่อผลงานวิจัย
กิจกรรมการจัดการความรู้
สรุปบทเรียนสำนักวิจัยและพัฒนา
องค์ความรู้จากการอบรมสัมมนา
รายงานผลการจัดการความรู้
คลังความรู้, -
นวัตกรรมสำนักวิจัยและพัฒนา
-
ฝายหยัก
|
RADAGATE
|
เรือเก็บผักตบชวาขนาดเล็ก
|
![]() เครื่องวัดความชื้นในดิน
|
PRIN PUMP
|
PRIN PUMP
|
![]() ถังบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน
|
SAPRIN WEEDER
|
SAPRIN WEEDER
|
การพัฒนาระบบโทรมาตรต้นทุนต่ำ สำหรับโครงการชลประทานสามชุก |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย วิชญ์ ศรีวงษา |
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2012 เวลา 00:00 น. |
การพัฒนาระบบโทรมาตรต้นทุนต่ำ สำหรับโครงการชลประทานสามชุก
วิชญ์ ศรีวงษา
1 และไพศาล พงศ์นรภัทร 2
1
ปัจจุบันตำแหน่ง วิศวกรโยธา ปฏิบัติการ สังกัด สถาบันพัฒนาการชลประทาน สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
2
ปัจจุบันตำแหน่ง วิศวกรชลประทาน ชำนาญการพิเศษ สังกัด สถาบันพัฒนาการชลประทาน สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
e-mail :
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
บทคัดย่อ :
ระบบโทรมาตรสำหรับตรวจวัดระดับน้ำระยะเปิดบานประตูทด-ระบายน้ำเพื่อการชลประทานแบบ on-line จัดเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง มีราคาค่อนข้างแพง แต่งบประมาณของกรมชลประทานสำหรับจัดซื้อมีจำกัด ดังนั้นจึงได้พัฒนาโทรมาตรแบบต้นทุนต่ำขึ้นใช้งานเอง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยการจัดการน้ำ ใช้เฝ้ามองระดับน้ำหน้า-ท้ายและขนาดการเปิดประตูทด-ระบายน้ำในระยะไกลเป็นข้อมูลสำหรับตัดสินใจในการส่งน้ำชลประทาน วิธีดำเนินการเริ่มจากพัฒนา RTU (Remote Terminal Unit) ประกอบด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์และพัฒนาชุดคำสั่ง machine code การทำงานแบบ polling, วงจร ADC ทำงานร่วมกับ sensor แบบ potentiometer และลูกลอยตรวจวัดระดับน้ำหน้า-ท้ายบานประตูทด-ระบายน้ำ และใช้ sensor แบบเดียวกันตรวจวัดระยะการเปิดบานประตูทด-ระบายน้ำ, ใช้การส่งข้อมูลด้วยสายสัญญาณแบบ drop wire RTU ติดตั้งที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก จ.สุพรรณบุรี จำนวน 2 แห่ง, พัฒนาอุปกรณ์สถานีแม่ข่าย (master station) และชุดคำสั่งด้วย visual basic สำหรับเรียกเก็บข้อมูลระดับน้ำ ระยะการเปิดบานประตูทด-ระบายน้ำ พร้อมการคำนวณปริมาณน้ำไหลผ่านประตูแบบอัตโนมัติ โดยแสดงผลที่หน้าจอขนาด 32 นิ้วแบบ real time บันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล ส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบอัตโนมัติผ่านเครือข่ายระบบ ADSL ทุก ๆ 15 นาที ในขณะนี้อุปกรณ์อยู่ระหว่างทดสอบใช้งานจริงที่โครงการ ฯ เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานรวมทั้งข้อบกพร่องต่าง ๆ และปรับปรุงพัฒนาชุดคำสั่งให้ดีขึ้น ผลประโยชน์ที่ได้รับคือ ระบบโทรมาตรต้นทุนต่ำแบบ on-line ที่พัฒนาขึ้นเองใช้เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยการส่งน้ำชลประทานต่อไป
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2012 เวลา 14:43 น. |